ส่งครั้งที่ 1
การประเมินพัฒนาการของเด็กระดับชั้นอนุบาลตามสภาพจริง
การประเมินพัฒนาการของเด็กระดับชั้นอนุบาลตามสภาพจริง
การประเมินตามสภาพจริงหรือ (authentic assessment) เป็นการประเมินการเรียนรู้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่มาจากผลงานจริงของผู้เรียน กระบวนการกระทำที่เป็นการคิด และการปฏิบัติจริงของผู้เรียนการพัฒนาการประเมินตามสภาพจริง มีเจตนาเพื่อมาใช้แทนการทดสอบมาตรฐานการศึกษา แนวทางได้ทำอย่างหลากหลาย โดยเริ่มจากการประเมินด้านการเขียนจากการติดตามศึกษาวิธีการประเมินจากเด็กผู้ปกครอง และครูการประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินเพื่อแสดงความรู้และทักษะปฏิบัติทั้งมวลของเด็กที่เกิดขึ้นในสภาพที่ปรากฏจริงจุดประสงค์ เพื่อตรวจสอบความสามารถของเด็กในการคิดการปฏิบัติ และการทำผลงานด้วยการสะท้อนภาพผลการเรียนรู้และความสามารถที่สนับสนุน และพัฒนาเด็กได้เต็มศักยภาพระดับบ่งชี้ผลลัพธ์ที่ต้องการมีความสำคัญ เพราะหมายถึงเป้าประสงค์ของครูที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดวิธีการที่ครูนำมาใช้ประเมินตามสภาพจริงประกอบด้วยการสังเกตการสัมภาษณ์ และการสะท้อนภาพผลงานสะสม การประเมินที่ใช้ควบคู่ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมพัฒนาและดูความก้าวหน้าของนักเรียนในการแสดงพฤติกรรม และการปฏิบัติ โดยครูมีบทบาทในการสังเกตการถามตอบในชั้น การพบปะพูดคุยการตรวจผลงานและการเขียนบันทึกเหตุการณ์ โดยเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องตามสภาพที่แท้จริงในขณะที่นักเรียนกำลังปฏิบัติกิจกรรม และนำผลที่ได้มาสะท้อนในการปรับบทบาทครูบทบาทเด็ก และปรับกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กต่อไป ได้ข้อสรุปตรงกันว่าการประเมินตามสภาพจริงสามารถช่วยในการพัฒนาความเจริญงอกงามของเด็กได้ตรงและสอดคล้องกับการสอนอย่างแท้จริง
การประเมินผลพัฒนาการเด็กถือเป็นหัวใจสำคัญและจำเป็นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเกิดขึ้นเนื่อง จากความต้องการที่จะเข้าใจพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กในแต่ละช่วงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอการประเมินพัฒนาการระดับอนุบาล จึงเป็นการประเมินพฤติกรรมของเด็กแต่ละบุคคลเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติตามตารางกิจกรรมประจำวันทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลมาจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมสอด คล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กแต่ละคน (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2539: 1) ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาชัชพงศ์(2541:164)ได้กล่าวว่าการประเมินผลในระดับอนุบาลเป็นการศึกษาถึงความเปลี่ยน แปลงของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นการประเมินความสามารถของเด็กในการแสดงพฤติกรรม เพื่อนำผลมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาเลือกจัดสื่อ และกิจกรรมต่อไปให้เป็นการเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพของเด็ก
หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539: 1-2) ได้กล่าวถึงหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การประเมินพัฒนาการเป็นการประเมินพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกายอารมณ์-จิตใจสังคมและสติปัญญา
2. การประเมินพัฒนาการเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติตามตารางกิจกรรมประจำวัน
3. การประเมินพัฒนาการควรใช้วิธีการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมความสามารถของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อสรุปพัฒนาการและนำข้อมูลมาจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสนใจของเด็กแต่ละคน
4. การประเมินพัฒนาการมิได้มุ่งนำผลการประเมินมาตัดสินการเลื่อนชั้นของเด็กทั้งนี้เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการเร็วหรือช้าต่างกันและสามารถพัฒนาไปตามจุดประสงค์ได้ถ้าครูจัดประสบการณ์เสริมสร้างอย่างเพียงพอและเหมาะสม
5. ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ได้ผลทุกด้านครูต้องทราบว่าเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใดเพื่อจะได้จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กครูจึงต้องรู้วิธีการประเมินพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กโดยทำการสัง เกตพฤติกรรมของเด็กอย่างสม่ำเสมอจนสามารถสรุปได้ว่า เด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับใดเพื่อสามารถจัดประสบ การณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
6. เมื่อถึงปลายปีสุดท้ายของระดับก่อนประถมศึกษาครูควรนำผลการประเมินมาพิจารณาสรุปตัดสินว่าเด็กพร้อมที่จะเลื่อนชั้นไปเรียนในระดับประถมศึกษาหรือไม่
จากที่กล่าวมาการประเมินพัฒนาการเป็นการวัดพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นส่วนหนึ่งของตารางกิจกรรมประจำวันซึ่งผู้ประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจพัฒนาการของเด็กตลอดจนรู้และเลือกวิธีการประเมินให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะประเมินได้
แนวคิดและหลักการประเมินผลจากสภาพจริง
กรมวิชาการ (2540: 18) กล่าวถึงหลักการที่จำเป็นของการประเมินผลจากสภาพจริงไว้ดังนี้
1. เป็นการประเมินความก้าวหน้าและการแสดงออกของนักเรียนแต่ละคน (มิใช่การเปรียบเทียบกับกลุ่ม) บนรากฐานของทฤษฎีทางพฤติกรรมการเรียนรู้และด้วยเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
2. การประเมินผลจากสภาพจริงจะต้องมีรากฐานบนพัฒนาการและการเรียนรู้ทางสติปัญญาที่หลากหลาย
3. การประเมินผลจากสภาพจริงและการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมจะต้องจัดทำให้ส่งเสริมซึ่งกันและกันคือจะต้องพัฒนาจากบริบทที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่นักเรียนอาศัยอยู่และที่ต้องเรียนรู้ให้เห็นกับกระแสเปลี่ยนแปลงของโลก
4. ความรู้ในเนื้อหาสาระทั้งในความก้าวหน้าและลึกจะนำไปสู่การพัฒนาให้นักเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้บรรลุเป้าหมายสนองความต้องการและเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่
5. การเรียนการสอนการประเมินจะต้องหลอมรวมกันและการประเมินต้องประเมินต่อเนื่องตลอดเวลาที่ทำการเรียนการสอนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วม
6. การเรียนการสอนการประเมินเน้นการปฏิบัติจริงในสภาพที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับธรรมชาติความเป็นจริงของการดำรงชีวิตงานกิจกรรมการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดงานด้วยตนเอง
7. การเรียนการสอนจะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่สูงสุดตามสภาพที่เป็นจริงของแต่ละบุคคล
จากที่กล่าวมาพอสรุปได้ว่าการประเมินผลจากสภาพจริงเป็นการประเมินความก้าวหน้าและการแสดงออกของผู้เรียนแต่ละคนบนรากฐานของทฤษฎีทางพฤติกรรมการเรียนรู้ และต้องมีรากฐานบนพัฒนาการและการเรียนรู้ทางสติปัญญาที่หลากหลายการประเมินผลจากสภาพจริง และการพัฒนาหลักสูตรจะต้องจัดทำให้ส่งเสริมซึ่งกันและกันการเรียนการสอนการประเมินต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาโดยผ่านกระบวนการและเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย
เครื่องมือประเมินผลตามสภาพจริง
เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือเครื่องมือประเมินผลเฉพาะเรื่อง ได้แก่แบบทดสอบและแบบประเมินตามสภาพจริงแบบทดสอบเป็นแบบประเมินที่ใช้วัดความสามารถของเด็กเฉพาะเรื่องมีอย่างน้อย 4 ลักษณะคือ
1)แบบทดสอบแบบเลือกตอบซึ่งข้อคำถามและตัวเลือกจะเป็นภาพ
2)แบบทดสอบสถานการณ์เป็นแบบทดสอบที่ตั้งสถานการณ์ขึ้นแล้วให้เด็กทดลองปฏิบัติการประเมินแบบนี้ครูจะใช้การสังเกตเป็นตัวร่วมในการประเมิน
3)แบบประเมินความสามารถในการสื่อภาษาเป็นแบบทดสอบที่ให้เด็กเล่าตามภาพโดยมีข้อกำหนดการประ เมินจากครูและ
4) แบบประเมินความคล่องเช่นความคล่องทางการพูดการเขียนการอ่านการเข้าสังคมหรือการปฏิบัติก็เป็นแบบสังเกตที่มีกำหนดเวลาและวิธีการแบบทดสอบที่ใช้กับเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นภาพหรือการปฏิบัติจริงที่เด็กสามารถรับรู้และเข้าใจได้
แบบประเมินตามสภาพจริงการประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลายด้วยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการเพื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้าของผู้เรียนเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินผลการเรียน โดยผู้สอนผู้เรียนและผู้ปกครองร่วมมือกันเช่น การใช้การสะสมผลงาน (portfolio) เป็นเครื่องมือในการประเมินตามสภาพจริง (วิชัยวงษ์ใหญ่, 2543: 16) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริงประกอบด้วยชิ้นงานที่ครูต้องสะสม ซึ่งอาจเป็นผลงานจากฝีมือของเด็กเองหรือผลงานที่มาจากการสังเกตของครูวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ได้แก่
1. การสังเกตเป็นวิธีการหลักของการประเมินตามสภาพจริงครูจะบันทึกสิ่งที่สังเกตต่าง ๆ ที่ได้จากการสังเกตเด็กแล้วบันทึกที่ครูเป็นผู้เขียนและรวบรวมข้อมูลสำหรับประเมินภาพเด็กส่วนใหญ่ใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานของเด็กแบบบันทึกที่ครูใช้นี้ได้แก่
•บันทึกพฤติกรรม (Anecdotal record) เป็นบันทึกที่ครูจดกิริยาการกระทำการแสดงออกของเด็กในเรื่องที่ครูต้องการประเมินซึ่งจะเป็นเรื่อง ๆ ตามจุดประสงค์การสังเกต
•บันทึกรายเรื่อง (Jourmal) เป็นบันทึกข้อความรู้หรือการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละเรื่องที่ผ่านไปส่วนใหญ่จะบันทึกวันต่อวัน ดังนั้นจึงอาจพบมีผู้ใช้คำว่าบันทึกประจำวัน : บันทึกการปฏิบัติ (Logs) บันทึกการปฏิบัติหรือพฤติกรรมของเด็กแต่ละช่วงเวลาตามตารางที่กำหนด
•แบบตรวจรายการ (Checklist) เป็นแบบประเมินอีกอย่างหนึ่งที่ครูใช้สำหรับการสังเกตการปฏิบัติของเด็กตามขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานในรายละเอียดแต่ละขั้นเป็นรายข้อ
•มาตรการให้คะแนน (Rubric) เป็นแบบสังเกตที่มีการกำหนดพฤติกรรมและตีค่าพฤติกรรมเป็นลำดับคะแนนครูใช้สำหรับสังเกตการแสดงออกของเด็กและตีค่าคะแนนตามมาตรฐานที่กำหนด
2.การสะท้อนผลงานสะสมการสะสมผลงาน (portfolio) เป็นการรวบรวมตัวอย่างชิ้นงานที่ดีที่สุดของเด็กในแต่ละช่วงการเรียนมาเพื่อสะท้อนภาพการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กว่ามีการก้าวหน้าอย่างไรนับตั้งแต่เริ่มเรียนจน ถึงปัจจุบัน (Elby and Kujawa, 1994: 11) การประเมินด้วยการสะสมผลงานนี้เป็นการประเมินที่ผลลัพธ์ที่ครูต้องพิจารณาย้อนกลับเพื่อสะท้อนภาพให้เห็นถึงความสามารถของเด็กและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
3.การสัมภาษณ์และสอบถามเป็นอีกวิธีหนึ่งของการประเมินที่จะช่วยให้ครูทราบข้อเท็จจริงของเด็กวิธีการอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งดังนี้•การประชุมปรึกษาระหว่างครูกับครูหรือครูกับผู้ปกครอง
•การสัมภาษณ์ครูหรือผู้ปกครอง
•การสื่อสารระหว่างครูกับผู้ปกครองมีหลายวิธีการโดยหลักการคือการสื่อสารให้ผู้ปกครองโต้ตอบกลับมา
เทคนิควิธีที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเป็นการประเมินอย่างไม่เป็นทางการ โดยวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. เก็บรวบรวมข้อมูล ครูควรวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลควบคู่กับการจัดประสบการณ์ โดยเป็นการวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
1.1 การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมหรือคำพูดของเด็ก ครูควรใช้เวลาในการสังเกตและเฝ้าดูเด็ก เพื่อให้ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีจุดเด่น ความต้องการ ความสนใจ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด ทั้งนี้ ครูต้องกำหนดเวลา แนวทางที่ชัดเจน และจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ในวิเคราะห์และสรุป
1.2 การสนทนากับเด็ก ครูสามารถใช้การสนทนากับเด็กได้ทั้งแบบรายบุคคลและเป็นกลุ่มอย่างสอดคล้องกับกิจวัตรประจำวัน เพื่อประเมินความสามารถในการแสดงความคิดเห็น พัฒนาการด้านการใช้ภาษา ฯลฯ เช่น เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูอาจถามคำถามให้เด็กแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่ฟัง เพื่อให้รู้ความคิดของเด็ก ทั้งนี้ครูควรจดบันทึกคำพูดของเด็กไว้เพื่อการวิเคราะห์และปรับการจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมต่อไปในกรณีที่ต้องการสน ทนากับเด็กเป็นรายบุคคล ครูควรพูดคุยในสภาวะที่เหมาะสม ไม่ทำให้เด็กเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล
1.3 การเก็บตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็ก เป็นวิธีการที่ครูรวบรวมและจัดระบบตัวอย่างผลงานที่แสดงความก้าวหน้าของเด็กจากชิ้นงานที่เด็กสร้างขึ้นในกิจวัตรประจำวัน ครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการเก็บรวบรวมผลงานเช่นเก็บตัวอย่างผลงานการตัดกระดาษที่แสดงการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านการตัดกระดาษของเด็กเดือนละ 1 ชิ้นงาน แล้วนำมาจัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เป็นต้น การเก็บสะสมผลงานอย่างต่อเนื่องนี้ ครูต้องประเมินว่าผลงานแต่ละชิ้นแสดงความก้าวหน้าของเด็กอย่างไร ไม่ใช่การนำมาเก็บรวมกันไว้เฉยๆ ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกและจัดเก็บผลงานและครูสามารถนำผลงานที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบมาใช้ในการสื่อสารกับผู้ปกครองให้รับทราบเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเด็กด้วย
วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่ดีต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช่วิธีใดวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พ่อแม่ หรือครูผู้ช่วยมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลด้วย เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกัน มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยวิธีการที่นำเสนอข้างต้นเป็นวิธีที่ครูต้องฝึกฝนจนมีทักษะในการสังเกตเด็ก พูดคุยกับเด็กและพ่อแม่อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีความไวต่อสิ่งที่ควรบันทึกหรือเก็บตัวอย่าง หากครูมีทักษะเหล่านี้ก็จะทำให้การประเมินตรงตามสภาพจริงยิ่งขึ้น
2. วิเคราะห์และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ครูควรนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาวิเคราะห์ และจัดทำบันทึกข้อมูลของเด็ก ทั้งในลักษณะของบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล และบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน ดังนี้
2.1 บันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคล การทำบันทึกข้อมูลเด็กรายบุคคลจะช่วยให้ครูรู้จักความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ทำให้ครูติดตามความก้าวหน้าของเด็กได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ครูประเมินเด็กอย่างครอบคลุมทุกรายการประเมิน ครูที่ทำบันทึกข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลจะสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของเด็ก หรือให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างเหมาะสม
2.2 บันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียน การทำบันทึกข้อมูลเด็กทั้งชั้นเรียนช่วยให้ครูรู้ว่าเด็กในห้องเรียนที่รับผิดชอบมีความสามารถหรือมีพัฒนาการในแต่ละด้านเป็นอย่างไร ส่งผลให้ครูสามารถออกแบบการจัดประสบการณ์ได้เหมาะสมกับเด็กในชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความก้าวหน้าของเด็กทั้งชั้นเรียน การสรุปเช่นนี้ควรทำเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ที่ดีต้องผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับการจัดประสบการณ์ การประเมินช่วยให้ครูทราบพัฒนาการของเด็ก เข้าใจเด็ก และรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มที่ ครูปฐมวัยจึงควรศึกษาวิธีการ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสมกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย วางแผนการประเมินให้เหมาะสมใช้ผลการประเมินในการส่งเสริมพัฒนา การและการเรียนรู้ของเด็กการประเมินจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ช่วยทำให้ครูสามารถจัดประสบการณ์อย่างมีคุณภาพ
No comments:
Post a Comment